5 แนวทางการถ่ายรูปให้เก๋ขึ้นด้วยสมาร์ทโฟน

5 แนวทางการถ่ายรูปให้เก๋ขึ้นด้วยสมาร์ทโฟน


ถ่ายรูปให้ออกมาสวยทำยังไง?ซัมซุงบอกวิธีถ่ายภาพให้สวยด้วยการตั้งค่ากล้องซัมซุง โดยไปที่การตั้งค่า iso กล้อง เพื่อให้ภาพเสมือนโปรมืออาชีพ ให้สัมผัสตั้งค่าแล้ววันนี้


การตั้งค่ากล้อง ซัมซุง เพื่อให้ถ่ายภาพออกมาสวย

ต้องยอมรับนะครับว่ายุคนี้ความสามารถ และความคมชัดของกล้องบนโทรศัพท์มือถือนั้นสูงขึ้นทุกวันๆ ไม่ว่าจะชัดตื้นละลายฉากหลังได้ ถ่ายแสงน้อยได้ชัด หรือแม้แต่ถ่ายภาพเคลื่อนไหว แต่เดี๋ยวก่อน...ถึงโทรศัพท์มือถือจะมีคุณสมบัติมากมายและจำลองความสามารถแบบกล้องในระดับพกพามาให้ใช้ แต่การเข้าใจเรื่องพื้นฐานของการถ่ายภาพ ก็จะช่วยช่วยให้ถ่ายภาพออกมาดูดีในทุกสภาพแสง และทุกสถานที่ เอาละครับมาดูกันว่า 5 แนวทางการถ่ายรูปให้เก๋ขึ้นด้วยสมาร์ทโฟนมีอะไรกันบ้าง



โหมดการถ่ายภาพ ที่เหมาะแก่การใช้งาน



1. ถ้าคุณคิดว่าการหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาถ่ายภาพแบบเฉยๆ ยังได้ภาพที่ไม่ถูกใจ ไม่สร้างสรรค์ลองเปิด โหมดการถ่ายภาพหรือโหมดสำเร็จรูปสำหรับการถ่ายภาพ ดูก็ได้
Mode จะรวบรวมการตั้งค่าแบบสำเร็จรูปสำหรับการถ่ายภาพในสถานการณ์ที่ที่เรามักเจอกันบ่อยๆ เช่น ถ่ายภาพปาร์ตี้ที่อยู่ในพื้นที่แสงน้อย ถ่ายภาพกีฬาที่ต้องการภาพแบบไม่สั่นไหว ถ่ายภาพย้อนแสงยามเย็น ถ่ายภาพกลางคืนที่มีแสงไฟเยอะแต่ฉากหลังมืด การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์

Mode ต่างๆที่ว่ามานั้นจะมีสูตรในการปรับ พวกรูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ การตั้งค่า ISO กล้องอยู่คร่าวๆ แต่ถึงเราจะเข้าใจและปรับตั้งค่าเอง มันเสียเวลาพอสมควร สมมุติถ้ามีเพื่อนมารอยืนยิ้มหน้ากล้อง แล้วเรามัวแต่ยืนส่องลองปรับแล้วปรับอีก จากที่เพื่อนยืนฉีกยิ้มเพื่อนอาจจะอยากเอานิ้วมาทิ่มหน้าเราแน่ ถ้ามัวแต่ยืนแช่กันอยู่อย่างนั้น

ถ้าความรู้พื้นฐานมันเข้าใจยาก หรือการเข้าไปปรับแต่งลึกๆมันลำบากนัก ก็ใช้แบบสำเร็จรูปดีกว่าครับ
เลือกใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์และสถานที่นะครับ



การตั้งค่า iso กล้อง เพื่อให้แสงสวยชึ้น



2. ถ้าคุณเคยใช้กล้องฟิล์มถ่าย คุณอาจจะเคยเห็นข้างกล่องฟิล์มที่เขียนว่า ISO 100 ISO 200 ISO 400    ซึ่งค่า ISO คือ ความไวแสงครับ ฉะนั้นที่เขามีไว้ในโทรศัพท์ก็ใช้งานแบบเดียวกันนั่นล่ะ

คิดง่ายๆครับ..ถ้าเอาโทรศัพท์ไปถ่ายเพื่อนในที่มีแสงเยอะหรือแดดแรงๆ เช่น ทะเล ภูเขา ในเวลาช่วงบ่ายๆ  ให้ลองปรับมาใช้การตั้งค่า ISO กล้อง 100 ISO 200 ถ่ายภาพดูนะครับ ภาพที่ออกมารับรองว่าออกมาสวยใสแน่นอน
แต่ถ้าอยู่ในสภาวะแวดล้อมแสงน้อยอย่างเช่นตอนเช้าๆ หรือว่าตอนเย็นๆ ก็ต้องเขยิบมาที่ ISO 400
หรือถ้าถ่ายถาพในที่แสงน้อยแล้วไม่อยากได้ภาพสั่นไหว ก็ต้องเขยิบมาที่ ISO 800 หรือสูงกว่านั้น
แต่ข้อควรระวังคือยิ่ง ISO สูงเท่าไหร่ภาพก็ยิ่งแตกนะครับ แบบที่ภาษาช่างภาพเขาเรียกว่า Noise หรือ Grain
เบื้องหลังของการเลือกใช้ ISO เขามีสูตรคำนวณคร่าวๆ แบบนี้นะครับ
Speed Shutter = ISO น้อย และSpeed Shutter มาก = ISO มาก


วิธีถ่ายภาพให้สวย ต้องจัดองค์ประกอบที่ดี


3. ตารางจุดเก้าช่องที่โทรศัพท์เขาแถมมา คือเค้าไม่ได้มีเอาไว้ให้เล่นหมากฮอสแน่ๆ แต่เรียกว่าเป็นจุดตัดของการจัดองค์ประกอบภาพครับ แบบที่เขาเรียกเก๋ๆว่าจัด Compose นี่แหล่ะ

เวลาคุณแต่งหน้าทำผมออกจากบ้าน คุณยังต้องส่องกระจกเช็คเสื้อผ้าหน้าผมว่าส่วนไหนควรจะเด่น ส่วนไหนควรเป็นรองจริงมั้ยล่ะครับ การจัดองค์ประกอบภาพถ่ายก็เป็นแบบเดียวกัน ตัวอย่างภาพนี้ผมใช้ลักษณะของสมดุลเทียม โดยให้จุดเด่นของภาพไปอยู่ที่มุมด้านขวาให้หมด ฉะนั้นผมก็จะใช้สี่เหลี่ยมเป็นตัวจัดองค์ประกอบในภาพ ว่าอยู่ในกรอบตามนี้แล้วหรือยัง โดยไล่มาด้านขวาบนของภาพ จนถึงมุมขวาล่าง และตรงกลางภาพแถวล่างสุด เพราะถ้ามองแบบกรอบสี่เหลี่ยมในภาพรวม เราจะเห็นเส้นนำสายตา ที่ถนนจะอยู่ในมุมทะแยงจากซ้ายบนลงมาหาขวาล่างพอดี คือจริงๆเรากะเองด้วยสายตาก็ได้ครับ แต่การมีเส้นตารางจะทำให้เราจัดวางง่ายกว่า

ถ้าคุณอยากให้จุดเด่นของภาพที่แตกต่างไปจากเดิมลองใช้สูตรนี้ก็ได้ การถ่ายแบบเอาตรงกลางภาพเป็นจุดสนใจ ไม่ใช่คำตอบของการถ่ายภาพแล้วออกมาดีเสมอไปครับ



วิธีถ่ายภาพให้สวย ต้องวัดที่จุดสนใจ


4. การวัดแสงก่อนการถ่ายภาพ เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงน้อยที่สุดในการใช้โทรศัพท์ถ่ายรูป แต่เป็นจุดชี้ความสามารถของผู้ใช้เลยว่าจะดึงศักยภาพของโทรศัพท์ออกมาได้แค่ไหน เพราะในโทรศัพท์มือถือเขาจะมีการวัดแสงคล้ายๆกับกล้องครับ คือ

Center weight หรือ เฉลี่ยหนักกลาง
มักจะเอาไปใช้กับการถ่ายภาพที่มีจุดสนใจตรงกลาง ที่สีแตกต่างออกมาจากฉากหลังเยอะๆ อย่างเช่น
คุณหยิบโทรศัพท์ไปถ่ายดอกไม้ สีขาวดอกเดียวระยะใกล้ แล้วฉากหลังเป็นใบไม้สีเขียว

Matrix หรือ เมททริกซ์ จะเป็นการวัดแสงแบบเฉลี่ยหลายส่วนหลายพื้นที่ แล้วเฉลี่ยความสว่างโดยรวม มักใช้กันในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ภาพทะเล ภาพภูเขา ภาพผู้คนเยอะๆ แล้วต้องการเก็บภาพทั้งหมด โดยมากเขาจะตั้งค่านี้มาให้เป็นมาตรฐานครับ

Spot หรือ วัดแสงเฉพาะจุด
จะเป็นการเอาจุดสนใจเล็กๆในภาพ มาเป็นตัววัดค่าเฉลี่ยค่าเทากลาง เช่น อยากให้เห็นหน้าคนชัดๆ แต่นายแบบไปอยู่ใต้หลังคา ไปอยู่ใต้ต้นไม้ ในเวลากลางเที่ยงแดดเปรี้ยงๆ ก็ควรใช้โหมดนี้ครับ



วิธีถ่ายภาพให้สวย ต้องปรับแสงให้เหมาะสม



5. องค์ประกอบสำคัญในการถ่ายภาพอีกอย่างคือ คือถ้ารู้จักสภาพแสงดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง คือจากที่เราลำดับมาทั้งหมด 4 ข้อก่อนหน้าเนี่ย แสงคือสิ่งสำคัญสุดในการถ่ายภาพให้สวย แต่เวลาที่เราถ่ายภาพเราก็อยากให้สีสันภาพมันออกมาตรง หรือว่าใกล้เคียงกับที่ตาเราเห็นที่สุดใช่มั้ยครับ White Balance นี่ก็เป็นอีกปัจจัยนึงที่ส่งผลต่อเรื่องนี้มาก เพราะแสงแต่ละทีมีเฉดสีที่แตกต่างกัน โทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ White Balance เลยตั้งไว้ที่ AWB หรือ Auto White Balance ซึ่งก็ง่ายดีครับ เพราะกล้องจะคำนวณเองให้หมด

แต่บางทีการวัดจากกล้องเองก็ไม่ได้ฉลาดขนาดนั้น อย่างสมมุติ ถ้าเราไปงานแต่งเพื่อนในโรงแรม เคยมั้ยครับเจอภาพออกมาสีอมส้มไปซะหมดหรือเราไปนั่งอยู่ในห้องที่มีหลอดไฟจ้าๆ เอ๊ะ..ทำไมสีอมฟ้าไปซะหมดทั้งที่ตาเราเห็นก็ไม่ขนาดนั้นนี่ นี่ล่ะครับความสำคัญ แต่เราสามารถแก้ไขได้ตั้งแต่ก่อนถ่ายรูปครับ

Day Light หรือแสงจ้า
นี่คือโหมดการถ่ายรูปที่ง่ายที่สุดแล้ว ไปรับลมทะเล ยืมชมธรรมชาติที่เขาลูกไหน เห็นแดดเปรี้ยงๆ ไม่วูบไปไม่วูบมาด้วยเมฆบังเปิดโหมดนี้ไว้ครับ ได้ภาพใสไม่ผิดหวัง

Cloudy หรือ เมฆครึ้ม
เราคงไม่ได้เลือกถ่ายรูปในวันที่ฟ้าเปิดกันไปเสียหมด ถ้าช่วงออกไปถ่ายวันไหนที่เงยหน้ามองฟ้าแล้วเจอว่ามีเมฆมากแสงแดดที่ส่องลงมาอาจจะลดทอนลงไปบ้าง ให้ใช้โหมดนี้ครับ

Tungsten หรือทังสเตน
บางทีเราถ่ายรูปแล้วไปเจอพวกหลอดแบบกลมๆมีไส้ที่เขานิยมเอาไปใส่พวกโคมโต๊ะทำงาน โป๊ะไฟตามสวน หรือพวกร้านวินเทจๆ ที่ห้อยไฟเหลืองๆลงมา ถ้าถ่ายในแสงพวกนี้ให้ไปใช้โหมดทังสเตน

Fluorescent หรือ ฟูลออเรซเซนต์

ถ้าเราแหงนหน้าไปแล้วเจอพวกหลอดไฟแท่งยาวๆ แบบที่ใช้ตามสำนักงาน ตามบ้านจะเป็นหลอดม้วนกลมๆ หรือแบบที่เราชอบซื้อไปถวายวัดกัน ก็ให้ใช้โหมดนี้เข้าช่วยครับ

เทคนิคการใช้ White Balance แบบมืออาชีพขึ้น
ถ้าคุณไปถ่ายทะเลตอนโพล้เพล้ยามเย็น อย่างช่วงเวลาประมาณหกโมงก็เย็น ภาพของท้องฟ้าที่คุณเห็นจะออกสีฟ้าปนส้มคือไม่เด่นซักเฉด แต่คุณใช้ White Balances ช่วยในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายได้ครับ

ถ้าใช้ Day Light ก็จะออกโทนส้มนิดๆ อยากให้สีออกแนวส้มเจือแดงไปเลยจะใช้ Tungsten ก็ได้
แล้วอยากได้ภาพแบบสีฟ้าเจือม่วงหน่อย ก็ใช้ Fluorescent ช่วยได้ครับ

การถ่ายภาพด้วยโทรศัพท์มือถือ มันไม่ใช่ว่าถ้านับ 1-2-3 จับภาพตอนยิ้มแล้วแชะ
หรือถ่ายออกมาให้ชัดในทุกภาพแล้วนั่นคือภาพสวยเสมอไป นั่นเป็นแค่เรื่องพื้นฐานที่โทรศัพท์ทำได้ครับ
สิ่งที่เราแนะนำกันไป 1 ถึง 5 อ่านจบแล้วต้องลองไปนำไปใช้ดูนะครับ
ทักษะการถ่ายภาพด้วยมือถือถ่ายรูปสวยจะเกิดขึ้นมาได้ คุณต้องออกไปถ่ายให้เยอะที่สุด ตั้งโจทย์กับตัวเองบ่อยๆ
แล้วคุณก็จะค่อยๆเรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่เราแนะนำไปทีละน้อยครับ



ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.samsung.com/th/article/5-photography/





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ Landscape

เทคนิค การถ่ายภาพสายน้ำให้ดูนุ่มนวล ง่ายๆ จ้า