ถ่ายภาพอาหารให้น่าอร่อย

ความยาวโฟกัส: 46 มม. / เลข F: 5.6 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/100 วินาที / การชดเชยแสง: +1


เมื่อคุณถ่ายภาพอาหารหรือของหวาน คงจะดีถ้าภาพถ่ายสามารถถ่ายทอดได้แม้กระทั่งรสชาติของวัตถุนั้นๆ
ในการถ่ายภาพดังกล่าว คุณควรให้ความสำคัญกับสีสันและความสว่าง เพื่อให้คุณสามารถสร้างความน่ารับประทานของอาหารให้ใกล้เคียงกับภาพจริง
ขั้นแรก ให้ตั้งค่ากล้องเป็นโหมด P และลองทำตามเทคนิคต่อไปนี้


การสร้างสีสันอย่างที่คุณต้องการ

สีสันและความสว่างคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ภาพถ่ายอาหารและของหวานดูน่ารับประทาน
อันดับแรก ให้ปรับสีด้วยสมดุลสีขาว สมดุลสีขาวคือฟังก์ชันสำหรับการปรับมาตรฐานของ "สีขาว" แต่ยังสามารถใช้เป็นฟิลเตอร์สีในกล้องดิจิตอลได้อีกด้วย ขั้นแรก ให้ถ่ายภาพโดยใช้สมดุลสีขาวอัตโนมัติ [AWB] เพื่อดูว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ จากนั้นลองใช้ [แสงแดดกลางวัน] หรือ [แสงแดดมีเมฆ] หากจำเป็น หากต้องการหาสีเพิ่มเติม ฟังก์ชันการปรับละเอียดสำหรับสมดุลสีขาวก็ได้ผลดี
โดยทั่วไปแล้ว อาหารจะดูน่ารับประทานยิ่งขึ้นเมื่อถ่ายด้วยสีโทนอุ่นเล็กน้อย (สีแดง)

ภาพถ่ายเหล่านี้ถูกถ่ายโดยใช้การตั้งค่าสมดุลสีขาวแตกต่างกัน ภาพที่ถ่ายด้วย [AWB] ภาพ [1] จะดูขาวกว่าภาพจริงเนื่องจากแสงในร้านอาหาร ภาพ [2] ถ่ายโดยใช้ [แสงแดดกลางวัน] สีที่อุ่นขึ้นจะช่วยเพิ่มความน่าอร่อยให้กับภาพถ่าย




การพิจารณามุมของแสง
มุมของแสงและความสว่างถือเป็นจุดสำคัญด้วย อาหารจะดูน่าอร่อยยิ่งขึ้นเมื่อถ่ายภาพโดยใช้แสงด้านหลัง เมื่อถ่ายภาพโดยใช้แสงด้านหน้า รูปร่างและสีของอาหารจะถูกปรับอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามเนื่องจากแสงจะไม่สร้างเงาบนวัตถุหรือไม่เปล่งประกายผ่านวัตถุ ภาพที่ได้ก็จะขาดความลึกและดูราบเรียบ

ภาพ [1] ถ่ายด้วยแสงด้านหน้า รูปร่างของขนมปังและผลไม้จะถูกถ่ายทอดออกมาอย่างชัดเจน แต่ภาพกลับดูราบเรียบเหมือนภาพธรรมดาๆ นอกจากนี้แฟลชโดยตรงยังสร้างแสงด้านหน้าได้ด้วย และภาพที่ได้ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน
ภาพ [2] ถ่ายโดยใช้ไฟด้านหลัง เมื่อมีเงา ขนมปังก็ได้รับการปรับให้มีความลึก นอกจากนี้ ผลไม้และแก้วน้ำดื่มก็ดูชุ่มฉ่ำยิ่งขึ้นด้วยแสงที่เปล่งประกายผ่านวัตถุ เพียงเปลี่ยนมุมของแสงก็สร้างความแตกต่างให้กับภาพได้อย่างมาก




อย่างไรก็ตาม หากคุณถ่ายโดยใช้แสงด้านหลัง วัตถุอาจดูมืดกว่าที่คาดไว้เนื่องจากพื้นหลังสว่าง ในกรณีนี้ ให้ใช้ฟังก์ชันการชดเชยแสง หากอาหารดูมืด ให้ปรับการเปิดช่องรับแสงไปทาง + เพื่อให้ดูสว่างขึ้น จุดสำคัญคือการปรับการเปิดช่องรับแสงตามความสว่างของตัวอาหาร ซึ่งหากฉากหลังจะดูขาวขึ้นเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร                                                                                                            ในภาพ [3] อาหารดูมืดเนื่องจากแสงจ้าเข้ามาในเลนส์ 
ภาพ [4] เป็นผลมาจากการใช้การชดเชยแสงภาพทางซ้าย ในตอนนี้อาหารก็ดูน่าอร่อยขึ้นด้วยการปรับการเปิดช่องรับแสงโดยยึดจากการปรับให้อาหารดูสว่างขึ้น



การเปลี่ยนองค์ประกอบ
หากคุณพยายามที่จะถ่ายอาหารทั้งจาน ก็จะจบลงด้วยภาพถ่ายที่ไม่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม หากคุณให้ความสำคัญกับการจัดองค์ประกอบอีกสักนิด คุณก็สามารถปรับบรรยากาศของภาพถ่ายให้ดีขึ้นได้
ในภาพด้านล่าง ภาพ [1] จับภาพอาหารทั้งจานจากตำแหน่งสายตาของช่างภาพ คุณจะเห็นส่วนต่างๆ ในจาน แต่ภาพที่ได้จะดูไม่มีมิติและดูไร้จุดหมาย นอกจากนี้ ของที่อยู่รอบๆ และเครื่องเงินในเฟรมก็ทำให้ดูรกตา
วิธีการปรับก็คือ ภาพ [2] ถ่ายโดยเข้าใกล้อาหารให้มากที่สุด โดยจับภาพอาหารในระยะที่ใกล้มาก ซึ่งจะมีบางส่วนที่ไม่ได้อยู่ในเฟรม ภาพนี้จะให้ความรู้สึกสมจริงมากกว่า และถ่ายทอดความอร่อยของอาหารออกมาได้มากกว่า อีกทั้งฉากหลังก็ดูเป็นระเบียบกว่า
นอกจากนี้ ขอแนะนำให้ถ่ายภาพในแนวตั้งหรือแนวทแยง (โดยเอียงกล้อง) เนื่องจากจะแสดงความลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ลองใช้เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่
เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่มีประโยชน์สำหรับภาพถ่ายอาหาร เนื่องจากเลนส์รุ่นนี้สามารถทำให้ฉากหลังพร่ามัวได้อย่างดี นอกจากนี้ เนื่องจากเลนส์ความยาวโฟกัสคงที่จะยอมให้แสงปริมาณมากเข้ามายังกล้อง จึงใช้ในการถ่ายภาพในที่ร่มที่มีแสงน้อยได้เป็นอย่างดี


ความยาวโฟกัส: 50 มม. / เลข F: 2.8 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/400 วินาที / การชดเชยแสง: +0.7




ความยาวโฟกัส: 50 มม. / เลข F: 2.0 / ความเร็วชัตเตอร์: 1/80 วินาที


ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.sony.net/Products/di/th/Learnmore/shootingtips/lesson4.html



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ Landscape

เทคนิค การถ่ายภาพสายน้ำให้ดูนุ่มนวล ง่ายๆ จ้า